เซลลูไลท์ ( Cellulite) การป้องกันและรักษา
เซลลูไลท์ ( Cellulite) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีเป็นต้นไป และทำให้เกิดความกังวลด้านความสวยงามไม่แพ้โรคอ้วน เซลลูไลท์ คือ ก้อนไขมันใต้ผิวหนังที่ทำให้ผิวหนังแลดูตะปุ่มตะป่ำเหมือนเปลือกผิวมะกรูด เชื่อว่าเกิดจากการที่ไขมันเคลื่อนตัวสูงขึ้นมาอยู่ในชั้นของผิวหนัง หรือเกิดจากการที่มีการไหลเวียนของระบบเลือดในบริเวณนั้นลดลง การคั่งของน้ำเหลือง และฮอร์โมนที่ไม่สมดุลย์ เหตุผลที่ไขมันส่วนนี้ดูเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำ เพราะไขมันใต้ผิวหนังบางครั้งมีจำนวนมากจนกลายเป็นก้อนไขมัน ซึ่งแต่ละก้อนจะมีเปลือกเหนียวๆ หุ้ม ทำให้แลดูภายนอกเห็นเป็นลอนๆ ของก้อนไขมัน บริเวณที่มีการสะสมของเซลลูไลท์มากก็คือ บริเวณต้นขา ต้นแขน หน้าท้อง รอบเอว และสะโพก เราสามารถตรวจสอบเซลลูไลท์ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่ายๆ คือหงายท้องแขนแล้วใช้มืออีกข้างบิดแขน ถ้าพบกับผิวหนังที่มีลักษณะขรุขระเป็นก้อนคล้ายผิวส้ม นั่นคือเซลลูไลท์ ซึ่งจะไม่เรียบเนียนเหมือนไขมันทั่วไป
เซลลูไลท์ จัดแบ่งตามลักษณะทางคลินิก ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. Hard Cellulite : พบได้บ่อยในผู้หญิงที่อายุน้อย ( 20-40 ปี) และมีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลักษณะจะเป็นก้อนแข็งเมื่อบีบตามร่างกาย จะเป็นก้อนๆ เล็กๆ พบได้บ่อยบริเวณตะโพก บั้นท้าย
2. Flaccid Cellulite : พบได้ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ลักษณะจะเป็นก้อนไขมันนุ่มๆ มีการหย่อนคล้อย กล้ามเนื้ออ่อนเหลว พบได้บ่อยบริเวณ ท้องแขน คาง รอบเอว หน้าท้อง
3. Edematous Cellulite : มักจะพบจากการไหลเวียนของโลหิตไม่ดี การคั่งของน้ำเหลือง ทำให้ลักษณะเหมือนการบวมน้ำกดบุ๋ม พบได้บ่อยที่ต้นขา ตะโพก จะพบว่าผิวหนังมักจะดูบอบบางเห็นเส้นเลือด บวมๆ
4. Mixed Cellulite: มักจะพบได้บ่อยที่สุด ซึ่งในคนๆ เดียว อาจจะพบ Cellulite ทั้งแบบ 1-3 ได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
แนวทางการป้องกันและรักษา Cellulite
1. ควบคุมอาหาร และป้องกันมิให้อ้วนเพิ่มขึ้น : จะช่วยป้องกันการสะสมของไขมันเพิ่มขึ้น เลือกรับประทานอาหารที่ต้านเซลลูไลท์ เช่น พืชผักผลไม้ให้มากขึ้น เพราะวิตามินอีและซีจะช่วยให้ผิวหนังกระชับขึ้น และอาหารกลุ่มที่มีกรดไขมัน ถั่ว น้ำมันปลา เมล็ดพืช จะช่วยการไหลเวียนของโลหิตให้มากขึ้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารคาร์โบไฮเดรต ไขมันสูง ของหวาน อาหารรสเค็ม ไขมันสัตว์ กาแฟ แอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้ยากที่จะขจัดออกจากร่างกาย
2. การออกกำลังกาย : พบว่าการออกกำลังกายอาจทำให้ผิวที่ตะปุ่มตะป่ำดูดีขึ้น เพราะการออกกำลังกายทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันเป็นพลังงานทำให้ก้อนไขมันมีขนาดเล็กลง นอกจากนั้น การออกกำลังกายยังทำให้กล้ามเนื้อมีขนาดโตขึ้น ซึ่งกล้ามเนื้อที่โตขึ้นมักมีขนาดสม่ำเสมอ (ไม่เหมือนก้อนไขมันที่เวลาโตมักแลดูตะปุ่มตะป่ำ) จึงทำให้แลดูว่าผิวเรียบขึ้น
3. การนวด : โดยใช้ฝ่ามือนวดไปมาลงน้ำหนักที่ละน้อย เริ่มจากหัวไหล่เพื่อลดบริเวณแขน ส่วนบริเวณหน้าท้อง ก็ใช้ฝ่ามือทั้งสองนวดสลับกันจากหน้าท้องถึง หน้าอก บริเวณสะโพกนั้นลูบขึ้นในลักษณะเดียวกัน และบริเวณเรียวขา เริ่มตั้งแต่ข้อเท้าไล่ขึ้นมาจนถึงบริเวณขาอ่อน นวดให้ทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเรียวขา ซึ่งอาจจะใช้ควบคู่กับครีมลดไขมันเฉพาะส่วน หรือใช้เครื่องนวดที่จะไปกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและทำให้เซลลูไลท์แตกตัว
4. Mesotherapy : การฉีดตัวยาหรือสารอาหารสู่ชั้นไขมันด้วยเข็มดิจิตอลขนาดเล็กมาก ทำให้กระบวนการเกิดไขมันถูกขัดขวางไม่สะสม ทำให้เกิดการสลายไขมัน ทำให้เซลล์ไขมันจะมีลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนไป และเป็นการกระตุ้นให้เซลลูไลท์ หรือไขมันส่วนเกินที่สะสม